วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

แผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: computer network; ศัพท์บัญญัติว่า     ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

ชนิดของเครือข่าย

         เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 5 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้

ภาษาเครื่องคืออะไร

ภาษาเครื่อง (machine language)
            เป็น ภาษาโปรแกรมรุ่นที่หนึ่ง (first-generation programming language: 1GL) ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถเข้าใจ คำสั่งเป็นตัวเลขล้วนๆ การอ่านและเขียนอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เป็นภาษาหรือคำสั่งที่ใช้้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องโดยตรง ลักษณะสำคัญของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยรหัสของเลขฐานสองซึ่งเทียบได้กับ ลักษณะของสัญญาณทางไฟฟ้าเข้ากับหลักการทำงาานของเครื่องสามารถเข้าใจและ พร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ทันที ภาษาเครื่องจะมีกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ค่อนข้างจำกัดโปรแกรมมีลักษณะค่อนข้าง ยุ่งยากซับซ้อน รหัสโครงสร้างของแต่ลำคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ

           -  รหัสบอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code
  หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่บอกคำสั่งให้เครื่องทำการ
  ประมวลผล เช่น ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ

          -  รหัสบอกตำแหน่งข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกว่า
  ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลนั้นเก็บอยู่ในตำแหน่ง (Address)
  ใดของหน่วยความจำ

การออกแบบฐานข้อมูล

การออกแบบฐานข้อมูล

     การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS) ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ ข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียก ใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท
1. รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น หรือโครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model) วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)
2. รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data Model) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง สำหรับตัวอย่างฐานข้อมูลแบบเครือข่ายให้ลองพิจารณาการจัดการข้อมูลของห้อง สมุด ซึ่งรายการจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ที่อยู่ ประเภท
3. รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model) เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว (Row) ของตารางจะแทนเรคอร์ด (Record) ส่วน ข้อมูลนแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ (Column) ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล (Field) โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่นระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ

การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

      การออกแบบฐานข้อมูลในองค์กรขนาดเล็กเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน อาจเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากนัก เนื่องจากระบบและขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรไม่ซับซ้อน ปริมาณข้อมูลที่มีก็ไม่มาก และจำนวนผู้ใช้งานฐานข้อมูลก็มีเพียงไม่กี่คน หากทว่าในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน รวมทั้งมีปริมาณข้อมูลและผู้ใช้งานจำนวนมาก การออกแบบฐานข้อมูลจะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานพอควรทีเดียว ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้ใช้งานภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรได้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลภายในองค์กรทั้ง นี้ การออกแบบฐานข้อมูลที่นำซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลมาช่วยในการดำเนินการ สามารถจำแนกหลักในการดำเนินการได้ 6 ขั้นตอน คือ
         1.การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ข้อมูล
         2.การเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล
         3.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด
         4.การนำฐานข้อมูลที่ออกแบบในระดับแนวคิดเข้าสู่ระบบจัดการฐานข้อมูล
         5.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ
         6.การนำฐานข้อมูลไปใช้และการประเมินผล

การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ

         การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ หรือในระดับแนวความคิด เป็นขั้นตอนการออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในระบบโดยใช้แบบจำลองข้อมูล เชิงสัมพันธ์ ซึ่งอธิบายโดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (E-R Diagram) จากแผนภาพ E-R Diagram นำมาสร้างเป็นตารางข้อมูล (Mapping E-R Diagram to Relation) และใช้ทฤษฏีการ Normalization เพื่อเป็นการรับประกันว่าข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบเชิงตรรกะนี้จะบอกถึงรายละเอียดของ Relation , Attribute และ Entity

ทำใบปลิวโฆษณาด้วยโปรแกรม Word 2007

 

ทำใบปลิวโฆษณาด้วยโปรแกรม Word 2007 ให้เพื่อนๆๆลองศึกษาจากวิดีโอนี้น่ะค่ะ 
  




วิธีการทำแผ่นพับง่ายๆ

..  วิธีการทำแผ่นพับใน Microsrof word

> สร้างหน้าเอกสารเปล่า ๆ 2 หน้า
........ > ตั้งค่าหน้ากระดาษเป็นแนวนอน นะครับ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าตั้งค่าหน้ากระดาษตรงไหน ก็ให้ไปที่ แถบเมนู แล้วคลิ๊กที่ 
แฟ้ม >>> ตั้งค่าหน้ากระดาษ >>> เลือกเป็นแนวนอน
ส่วนการตั้งระยะขอบ บน กับ ล่าง ไม่มีความสำคัญมากนักนะครับ เราจะเน้นที่ซ้าย กับ ขวา โดย ซ้ายกับขวานี่สำคัญมากนะครับจะลงตัวหรือไม่ก็อยู่ที่ตรงนี้แหละโดยในที่นี้ผมจะตั้งไว้ 0.5 นิ้ว แล้วก็ O.K ไปก่อนครับ


.....http://www.dek-ac.com/knowledge-id8.html
...
 > 
การตั้งค่าหน้ากระดาษเราสามารถเลือกเป็น เซนติเมตร หรือว่าเป็นนิ้วก็ได้ โดยไปที่ เครื่องมือ ตัวเลือก ทั่วไป ตรงที่หน่วยการวัด เราสามารถเปลี่ยนเป็นนิ้วหรือเซนติเมตรได้
........ > เสร็จแล้วให้ไปที่ แถบเครื่องมือ เลือก รูปแบบ คอลัมน์ แล้ว คลิ๊ก ค่าที่ตั้งไว้ เลือกเป็น สาม ระยะห่าง เลือกเป็น 1 อย่าลืมติ๊กเครื่องหมายถูกตรงที่ ความกว้าของคอลัมน์เท่ากัน แล้วก็ ตกลงเลยครับ
 

........ > ในส่วนตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ คือว่าในส่วนที่ผมตั้ง ซ้าย ขวา ให้เป็น 0.5 นิ้ว และมาตั้ง ตรงระยะห่าง 1 นิ้ว นี่ก็เพราะว่ามันเป็นสัดส่วนของมันนะครับ ส่วนใครจะตั้งค่านอกจากนี้ก็ได้ แต่ว่าให้อยู่ตามเกณฑ์นี้นะครับ *** ระยะห่าง จะกว้างเป็น สองเท่าของขอบ *** อย่างเช่นเราตั้งขอบ ซ้ายขวา ไว้ 0.25 นิ้ว ระยะห่าง ก็จะเท่ากับ 0.5 นิ้ว  บทความโดย เด็กเอซี

........ > ในเรื่องของการลงเนื้อหาของแผ่นพับนั้นหน้าแรกของแผ่นพับนั้นจะต้องไปเริ่มพิมพ์ที่คอลัมน์ที่ 3 (หมายเลข 1) ของ แผ่นแรก แล้วก็ใส่เนื้อหาลงไปเรื่อย ๆ จนหมดแผ่นที่สอง พอหมดแผ่นที่สองแล้วให้มาเริ่มพิมพ์ที่แผ่นแรกต่อเลยโดยเริ่มจากคอลัมน์แรก แล้วก็ต่อไปจนถึงคอลัมน์ ที่ 2 คอลัมน์ที่สองของแผ่นแรกนั้นจะเป็นด้านหลังสุดของแผ่นพับ ถ้าใครทำถูก เนื้อหาในส่วนแรกกับส่วนสุดท้ายจะมาอยู่ใกล้กัน ในที่นี้ก็คือ คอลัมน์ 2 (หมายเลข 6) กับ 3 (หมายเลข 1) นะครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ ดูตามรูปข้างล่างนะครับ



ตัวอย่างที่ 1 : http://www.ziddu.com/download/11739275/ex_word_dek-ac.com.doc.html
  หลายคนทำได้ เรื่องแผ่นพับนี้ แต่หลายคนยังงง ขอให้ทำได้ทุกคนนะคร๊าบ

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ความหมาย
         Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce
         อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
         E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ


  • การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
  • การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
  • การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
  • บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย
บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce
        เนื่องจากการ ทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน
        E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้
บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่ส ถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

ความปลอดภัยกับ E-Commerce
        ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะ เจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)
         ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
การชำระเงินบน E-Commerce
         จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต
         สำหรับในประเทศไทย... ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer
เพื่อ... สร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้
         1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของ ลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษา ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
         2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตร เครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

คู่มือการใช้งาน Windows Xp

System Restore ของวินโดวส


ปกติทั้ง Windows XP  จะมีเครืองมือชื่อ System Restore มาให้  โดยจะทำหน้าที่ในการแบ็กอัพและเรียกข้อมูลกลับคืนมา เกี่ยวกับการทำงานของ Windows และไฟล์แอพพลิเคชันต่างๆ ที่ติดตั้งในระบบ   ซึ่งจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ
หรือหากผู้ใช้ต้องการตั้งค่าการทำงานเองก็ได้ เช่นกัน   เมื่อเราต้องการเรียกคืนสถานภาพการทำงานในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ให้กับระบบก็ สามารถทำได้ด้วยการเลือกวันที่ต้องการย้อนกลับไป และนี่คือหน้าที่ของ System Restore ของ Windows
System Restore จะสามารถสร้างจุดในการเรียกคืนระบบ (restore point) ได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่ง ปกติจะมีการสร้างข้อมูลที่ใช้ในการเรียกคืนระบบทุกๆ 24 ชั่วโมงในกรณีที่คอมพิวเตอร์เปิดทำงาน ตลอดเวลา แต่ถ้าเครื่องคอมพ์ปิดอยู่ การทำ restore point จะถูกสร้างขึ้นเมื่อเปิดเครื่องขึ้นทำงาน  นอกจากนี้ restore point ยังอาจถูกสร้างขึ้นตอนที่มีการติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพิ่มเข้าไป  อย่างไรก็ดี เราสามารถสร้าง restore point เองได้    

ขั้นตอนการเรียกใช้งาน
1.   เข้าไปที่เมนู Start-> Accessories-> System Tools -> System Restore

2.  หน้าต่างของโปรแกรม System Restore จะมีรายการให้เลือก 4 ข้อ 
  • System Restore Settings
  • Restore my computer to an earlier time
  • Create a restore point
  • Undo my last restoration  (รายการนี้จะปรากฎเมื่อเคย Restore system ไปแล้ว)
System Restore Settings

เพื่อกำหนดการปิด/เปิด System Restore และกำหนดขนาดพื้นที่ของไดรส์ต่าง ๆ สำหรับให้โปรแกรม System Restore
                ที่หน้าต่าง System Properties
  • ถ้าต้องการปิดการทำงานของ System Restore ให้เลือกที่ช่อง Turn off System Restore  on all drives
    แล้วกด OK
  • ถ้าต้องการกำหนดขนาดพื้นที่ของไดรส์ต่าง ๆ สำหรับให้โปรแกรม System Restore ใช้งานได้ด้วยตนเอง
    ให้กดปุ่ม Setting  โดยขนาดที่เซตนั้น หากฮาร์ดดิสก์มีความจุเหลือไม่มากนัก ก็ไม่ควรเลื่อนแถบไปถึงระดับ Max
          Restore my computer to an earlier time
เพื่อต้องการ Restore โปรแกรม
  • จะปรากฎหน้าต่าง Select a Restore Point  ให้เลือกจุดหรือตำแหน่งตามวันเวลาที่ระบบได้เซตให้อัตโนมัติ
    ซึ่งสามารถเลือก Restore ได้ตามต้องการ  สำหรับช่องทางขวามือนั้น  หากเราได้ติดตั้งโปรแกรมหรือมีการลบ
    โปรแกรมออกไปในช่วงวันเวลาใดละก็ มันจะถูกแสดงให้ดูด้วยเพื่อให้คุณตัดสอนใจว่าต้องการ Restore ระบบ
    ในช่วงวันเวลานี้หรือไม่  จากนั้นให้กดปุ่ม Next
  • จะปรากฎหน้าต่าง Confirm Restore Point Selection เพื่อยืนยันการ Restore ให้กดปุ่ม Next  จากนั้น
    ก็จะทำการ Restore ระบบและ Restart เครื่องใหม่


                Create a restore point
เพื่อต้องการกำหนดตำแหน่งคืนข้อมูลล่าสุด (Create a Restore Point)   ซึ่งหากคุณได้ใช้งานวินโดวส์ไปบ้างแล้ว ระบบจะแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลที่สำคัญให้เป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ
                - ที่หน้าต่าง Create a Restore Point  ให้ใส่คำอธิบาย ในช่อง Restore Point Description จากนั้นกดปุ่ม Create

Undo my last restoration  (รายการนี้จะปรากฎเมื่อเคย Restore system ไปแล้ว)
เพื่อต้องการยกเลิกการทำ Restore system ครั้งที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้



                ข้อจำกัดของ System Restore
System Restore ช่วยผู้ใช้งานให้สามารถกู้ระบบบางอย่าง โดยเฉพาะรีจิสตรี้ ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ในกรณีที่ เกิดปัญหาขึ้นมา โดยเหมือนย้อนเวลากลับไปตอนที่ระบบยังไม่เกิดปัญหา...  แต่ระบบนี้ก็เหมือนกับดาบสองคมเพราะว่าเวลาที่เราประสบปัญหากับไวรัส หรือโปรแกรมที่ไม่ปราถนาดีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา หากเราเปิดระบบนี้ทิ้งไว้ เวลาที่เรากำจัดไวรัสไปแล้ว มีโอกาสเป็นไปได้ที่ System Restore นี้จะย้อนเวลากู้เอาพวกรีจิสตรี้ที่ไวรัส หรือโปรแกรมที่
ไม่ปราถนาดีเหล่านั้น กลับคืนมา

1.System Restore มีจุดอ่อนอยู่เหมือนกัน ซึ่งปกติ Windows จะกันพื้นที่ไว้ให้ประมาณ 12% ของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับการสำรองข้อมูล   อย่างไรก็ดีเราสามารถลดพื้นที่ได้โดยเข้าไปที่ System Properties (คลิ้กขวา บนไอคอน My Computer เลือก Properties หรือกดปุ่ม Windows + Pause/Break) แล้ว คลิ้กแท็บ System Restore เลื่อนสไลด์ไปทางซ้าย เพื่อลดขนาดของการทำ Restore  เช่น ลงเหลือ 3 – 5%
2.เราไม่สามารถใช้ System Restore แทนการทำแบ็คอัพข้อมูลได้ เช่น ถ้าลบไฟล์ข้อมูลไป
System Restore จะไม่สามารถเรียกคืนได้  ในทางกลับกัน เวลารัน System Restore ก็จะไม่ไปลบ หรือ แก้ไขไฟล์ข้อมูลแต่อย่างใด

3.ถ้า Windows ติดไวรัส ก็จะทำการแบ็กอัพไวรัสเก็บไว้ด้วย  ถึงแม้ว่าเราจะ Clean ไวรัส หมดแล้ว
และหากเราเรียกข้อมูลกลับคืนมา      ไวรัสก็จะกลับมาอีก ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว