วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

คู่มือการใช้งาน Windows Xp

System Restore ของวินโดวส


ปกติทั้ง Windows XP  จะมีเครืองมือชื่อ System Restore มาให้  โดยจะทำหน้าที่ในการแบ็กอัพและเรียกข้อมูลกลับคืนมา เกี่ยวกับการทำงานของ Windows และไฟล์แอพพลิเคชันต่างๆ ที่ติดตั้งในระบบ   ซึ่งจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ
หรือหากผู้ใช้ต้องการตั้งค่าการทำงานเองก็ได้ เช่นกัน   เมื่อเราต้องการเรียกคืนสถานภาพการทำงานในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ให้กับระบบก็ สามารถทำได้ด้วยการเลือกวันที่ต้องการย้อนกลับไป และนี่คือหน้าที่ของ System Restore ของ Windows
System Restore จะสามารถสร้างจุดในการเรียกคืนระบบ (restore point) ได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่ง ปกติจะมีการสร้างข้อมูลที่ใช้ในการเรียกคืนระบบทุกๆ 24 ชั่วโมงในกรณีที่คอมพิวเตอร์เปิดทำงาน ตลอดเวลา แต่ถ้าเครื่องคอมพ์ปิดอยู่ การทำ restore point จะถูกสร้างขึ้นเมื่อเปิดเครื่องขึ้นทำงาน  นอกจากนี้ restore point ยังอาจถูกสร้างขึ้นตอนที่มีการติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพิ่มเข้าไป  อย่างไรก็ดี เราสามารถสร้าง restore point เองได้    

ขั้นตอนการเรียกใช้งาน
1.   เข้าไปที่เมนู Start-> Accessories-> System Tools -> System Restore

2.  หน้าต่างของโปรแกรม System Restore จะมีรายการให้เลือก 4 ข้อ 
  • System Restore Settings
  • Restore my computer to an earlier time
  • Create a restore point
  • Undo my last restoration  (รายการนี้จะปรากฎเมื่อเคย Restore system ไปแล้ว)
System Restore Settings

เพื่อกำหนดการปิด/เปิด System Restore และกำหนดขนาดพื้นที่ของไดรส์ต่าง ๆ สำหรับให้โปรแกรม System Restore
                ที่หน้าต่าง System Properties
  • ถ้าต้องการปิดการทำงานของ System Restore ให้เลือกที่ช่อง Turn off System Restore  on all drives
    แล้วกด OK
  • ถ้าต้องการกำหนดขนาดพื้นที่ของไดรส์ต่าง ๆ สำหรับให้โปรแกรม System Restore ใช้งานได้ด้วยตนเอง
    ให้กดปุ่ม Setting  โดยขนาดที่เซตนั้น หากฮาร์ดดิสก์มีความจุเหลือไม่มากนัก ก็ไม่ควรเลื่อนแถบไปถึงระดับ Max
          Restore my computer to an earlier time
เพื่อต้องการ Restore โปรแกรม
  • จะปรากฎหน้าต่าง Select a Restore Point  ให้เลือกจุดหรือตำแหน่งตามวันเวลาที่ระบบได้เซตให้อัตโนมัติ
    ซึ่งสามารถเลือก Restore ได้ตามต้องการ  สำหรับช่องทางขวามือนั้น  หากเราได้ติดตั้งโปรแกรมหรือมีการลบ
    โปรแกรมออกไปในช่วงวันเวลาใดละก็ มันจะถูกแสดงให้ดูด้วยเพื่อให้คุณตัดสอนใจว่าต้องการ Restore ระบบ
    ในช่วงวันเวลานี้หรือไม่  จากนั้นให้กดปุ่ม Next
  • จะปรากฎหน้าต่าง Confirm Restore Point Selection เพื่อยืนยันการ Restore ให้กดปุ่ม Next  จากนั้น
    ก็จะทำการ Restore ระบบและ Restart เครื่องใหม่


                Create a restore point
เพื่อต้องการกำหนดตำแหน่งคืนข้อมูลล่าสุด (Create a Restore Point)   ซึ่งหากคุณได้ใช้งานวินโดวส์ไปบ้างแล้ว ระบบจะแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลที่สำคัญให้เป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ
                - ที่หน้าต่าง Create a Restore Point  ให้ใส่คำอธิบาย ในช่อง Restore Point Description จากนั้นกดปุ่ม Create

Undo my last restoration  (รายการนี้จะปรากฎเมื่อเคย Restore system ไปแล้ว)
เพื่อต้องการยกเลิกการทำ Restore system ครั้งที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้



                ข้อจำกัดของ System Restore
System Restore ช่วยผู้ใช้งานให้สามารถกู้ระบบบางอย่าง โดยเฉพาะรีจิสตรี้ ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ในกรณีที่ เกิดปัญหาขึ้นมา โดยเหมือนย้อนเวลากลับไปตอนที่ระบบยังไม่เกิดปัญหา...  แต่ระบบนี้ก็เหมือนกับดาบสองคมเพราะว่าเวลาที่เราประสบปัญหากับไวรัส หรือโปรแกรมที่ไม่ปราถนาดีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา หากเราเปิดระบบนี้ทิ้งไว้ เวลาที่เรากำจัดไวรัสไปแล้ว มีโอกาสเป็นไปได้ที่ System Restore นี้จะย้อนเวลากู้เอาพวกรีจิสตรี้ที่ไวรัส หรือโปรแกรมที่
ไม่ปราถนาดีเหล่านั้น กลับคืนมา

1.System Restore มีจุดอ่อนอยู่เหมือนกัน ซึ่งปกติ Windows จะกันพื้นที่ไว้ให้ประมาณ 12% ของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับการสำรองข้อมูล   อย่างไรก็ดีเราสามารถลดพื้นที่ได้โดยเข้าไปที่ System Properties (คลิ้กขวา บนไอคอน My Computer เลือก Properties หรือกดปุ่ม Windows + Pause/Break) แล้ว คลิ้กแท็บ System Restore เลื่อนสไลด์ไปทางซ้าย เพื่อลดขนาดของการทำ Restore  เช่น ลงเหลือ 3 – 5%
2.เราไม่สามารถใช้ System Restore แทนการทำแบ็คอัพข้อมูลได้ เช่น ถ้าลบไฟล์ข้อมูลไป
System Restore จะไม่สามารถเรียกคืนได้  ในทางกลับกัน เวลารัน System Restore ก็จะไม่ไปลบ หรือ แก้ไขไฟล์ข้อมูลแต่อย่างใด

3.ถ้า Windows ติดไวรัส ก็จะทำการแบ็กอัพไวรัสเก็บไว้ด้วย  ถึงแม้ว่าเราจะ Clean ไวรัส หมดแล้ว
และหากเราเรียกข้อมูลกลับคืนมา      ไวรัสก็จะกลับมาอีก ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น